• คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    Faculty of Fine and Applied Arts Thammasat University
  • สาขาวิชาการละคอน
    Theatre
  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
    Textile and Fashion Design
  • สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
    Industrial Crafts Design

  “โครงการเสวนาวิชาการด้านศิลปกรรม ในวาระคณะศิลปกรรมศาสตร์ครบรอบ 20 ปี”

Arts & Design in Digital Space

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทางออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting ณ โรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญของโครงการ

     ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเทคโนโลยี และข้อมูลองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งกระแสความสนใจเรื่องโลก Metaverse ที่มีมากขึ้น ประกอบกับอุตสาหกรรมการให้บริการแพลตฟอร์มที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนอย่างหลีกเลี่ยง จึงทำให้ศิลปิน คณาจารย์ และนักวิชาการในวงการศิลปะ จะต้องเตรียมรับมือและปรับตัวในการเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ภาคธุรกิจหลายส่วนรวมทั้งแฟชั่นและสิ่งทอ และ ศิลปะการแสดง ได้ตอบรับและเตรียมรับมือกับทิศทางใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลกระทบกับงานศิลปกรรมในอนาคต

     คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการเข้าสู่สังคมดิจิทัลดังกล่าว จึงได้จัดโครงการเสวนาวิชาการในวาระ 20 ปีของคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภายใต้หัวข้อ “Arts & Design in Digital Space” โดยมีเสวนาในแต่ละสาขา ได้แก่ การสร้างศิลปะการแสดงข้ามสื่อบนแพลตฟอร์ม ที่หลากหลาย และ Fashion &Textiles in the Metaverse เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และส่งเสริมงานด้านศิลปกรรมแขนงต่างๆ ทั้งในสาขาศิลปะการแสดง และการออกแบบสร้างสรรค์  การออกแบบสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ให้กับสังคมและประชาชนผู้สนใจทั่วไป ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของคณะศิลปกรรมศาสตร์

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อให้ความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการนำผลงานด้านศิลปกรรม เผยแพร่บนแพลตฟอร์มต่างๆ
2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองการสร้างผลงานศิลปกรรมผ่านสื่อออนไลน์
3. เพื่อเพื่อให้ข้อมูลแนวทางปฏิบัติ ข้อพึงระวัง กฎหมายที่ควรทราบเพื่อป้องกันปัญหาอันจะเกิดขึ้นจากการเผยแพร่ผลงานแบบออนไลน์สู่สาธารณชน

รูปแบบการดำเนินงาน

- การดำเนินการเสวนาผ่านระบบ online ผ่านระบบ Zoom Meeting และ Facebook Live จากโรงละคอนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1.เสวนาวิชาการ เรื่อง “Fashion &Textiles in the Metaverse”
     
กระแสความสนใจเรื่องโลก Metaverse ที่มีมากขึ้นทุกวัน ประกอบกับอุตสาหกรรมการให้บริการแพลตฟอร์มที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาคธุรกิจหลายส่วนรวมทั้งแฟชั่นและสิ่งทอได้ตอบรับและเตรียมรับมือกับทิศทางใหม่ ๆ ความเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอในอนาคตอย่างไร นักออกแบบจะต้องปรับตัวเพียงไหน ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ร่วมค้นหาคำตอบได้กับการเสวนานี้
โดย
1. คุณวชินนท์ หนไธสงค์
   -
เริ่มต้นสายอาชีพ 3D modeler ได้ทำงานร่วมกับ บริษัท Lunchbox studio เป็นบริษัทรับผลิตสื่อการ์ตูนทีวีซีรีส์ 3D Animation เช่น Byrdland, Shelldon
   - ร่วมทำงานกับ ThairathTV ด้วยตำแหน่ง 3D Specialist ทำหน้าที่ผลิตโมเดล 3D ต่างๆ เพื่อใช้ประกอบในการนำเสนอข่าวสารประจำวัน
   - บริษัท Studio Hive เป็นบริษัทที่รับผลิตโปรดักซ์สินค้าประเภท Statue, Action figure
   - ปัจจุบันได้เป็นหัวหน้าของฝ่าย 3D Artist ของบริษัท Brandverse เป็นบริษัทที่ทำโครงการเกี่ยวกับ Metaverse โดยเฉพาะ
2. คุณภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์
  -
วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโร
3. คุณณัฐ คุณเวช
 
- หัวหน้าฝ่ายแคมเปญของบริษัท Shopee ในปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์ในแวดวงการตลาดกว่า 10 ปี รวมถึงเคยดำรงตำแหน่ง partner marketing ที่บริษัท google ประเทศสิงคโปร


2.เสวนาวิชาการ เรื่อง “การสร้างศิลปะการแสดงข้ามสื่อบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย”
      การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองการสร้างผลงานศิลปะการแสดงเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ ทั้งกระบวนการขั้นตอน แพลตฟอร์มที่เคยใช้ ปัญหาอุปสรรค การจัดการต้นทุน ประชาสัมพันธ์ ขายบัตรออนไลน์ ความคุ้มทุน  แนวคิดเกี่ยวกับการนำผลงานเผยแพร่บนแพลตฟอร์มต่างๆ เทคนิครูปแบบ ประสิทธิภาพ และข้อจำกัด ตลอดจนให้ข้อมูลแนวทางปฏิบัติ ข้อพึงระวัง กฎหมายที่ควรทราบเพื่อป้องกันปัญหาอันจะเกิดขึ้นจากการเผยแพร่ผลงานแบบออนไลน์สู่สาธารณชน
โดย
1. คุณอัจจิมา ณ พัทลุง

  - ผู้ก่อตั้ง Arts on Location เพื่อขยายขอบเขตงานด้านการแลกเปลี่ยนและการเดินทางข้ามวัฒนธรรมในระดับนานาชาติของละครเวที และเป็นผู้ริเริ่ม&ผู้อำนวยการเทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนแห่งกรุงเทพมหานคร (BICT Fest)
2. คุณ
ณัฐพร  เทพรัตน์
  - Curator งานศิลปะในแพลตฟอร์มทางเลือก
  -
ที่ปรึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม และการออกแบบภาพบนเวที (Scenographer) ได้รับทุนการศึกษาปริญญาโท ด้าน Theatre and Entertainment Design จาก Hongkong Academy for Performing Arts  ผู้ก่อตั้ง Tito Tito Art Concultancy
3. ดร.ศตเนติ เนติภัทรชูโชติ
 
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
  - นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขากฎหมายสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมไซเบอร์ มหาวิทยาลัย โครนิงเก้น ประเทศเนเธอร์แลนด์
  - ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การลงทะเบียน
ลงทะเบียนทาง https://forms.gle/m3gvyG4vp6DRc8ay9

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โทร 02-6966249 คุณวรัญญา จงใจรักษ์

 

 

 

 

Follow us

Contact us

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  99 ม.18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

  โทรศัพท์   02 - 6966305  

  โทรสาร Fax (อัตโนมัติ )   02 - 9868601