คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Fine and Applied Arts Thammasat University
สาขาวิชาการละคอน
Theatre
Read more
สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
Textile and Fashion Design
สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
Industrial Crafts Design
Read more
HOME
ABOUT US
คณะศิลปกรรมศาสตร์
ประวัติความเป็นมา
พันธกิจ วิสัยทัศน์ ปรัชญา
บุคลากร
คณะกรรมการประจำคณะ
คณะผู้บริหาร
คณาจารย์
สาขาวิชาการละคอน
สาขาวิชาศิลปการออกแบบพัสตราภรณ์
สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
ผู้เชี่ยวชาญ
บุคลากรสายสนับสนุน
งานบริหารและธุรการ
งานคลังและพัสดุ
งานบริการการศึกษา
งานประกันคุณภาพการศึกษาและวิจัย
Courses
สาขาวิชาการละคอน
สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
หลักสูตรที่เปิดสอน
JOURNAL
Book
RESEARCH
CONTACT US
ประวัติความเป็นมา
พิมพ์
อีเมล
เขียนโดย Super User
หมวด:
เกี่ยวกับเรา
ฮิต: 19715
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์และการทำนุ บำรุงศิลปวัฒนธรรมอันเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา นอกจากภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอน/การผลิตบัณฑิต การวิจัยและการให้บริการวิชาการแก่สังคม ดังนั้น ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) จึงได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมการศึกษา การสร้างองค์ความรู้ และการให้บริการทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมแก่สังคม โดยเสนอขออนุมัติบรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ในแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535- 2539) ของทบวงมหาวิทยาลัย โดยยกฐานะสาขาวิชาการละคอน ในคณะศิลปศาสตร์ ขึ้นเป็นโครงการจัดตั้ง ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบให้บรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นโครงการใหม่ไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)
ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ต่อ ทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อให้คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบจัดตั้ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2531 แต่คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย (ในขณะนั้น) ในการประชุมครั้งที่ 11/2538 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2538 พิจารณาแล้วมีมติไม่อนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยให้ดำเนินการเป็นโครงการจัดตั้ง และให้สามารถจัดการเรียนการสอนในสาขาที่มีความพร้อมได้นอกเหนือจากสาขา วิชาการละคอนที่มีอยู่เดิม ดังนั้น ในปีการศึกษา 2539 โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์จึงได้เปิดสอนหลักสูตรใหม่ซึ่งเป็นหลักสูตร ของโครงการจัดตั้ง คือ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการละคร และสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
ต่อมาในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) และต่อเนื่องมาจน ถึงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9
(พ.ศ.2545-2549) โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ยังไม่ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่าคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ได้มีมติให้ดำเนินมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ โดยสาระสำคัญของมาตรการดังกล่าว คือ การกำหนดให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือขยายหน่วยงานภายใน กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรมขึ้นไป ซึ่งมติคณะ รัฐมนตรีดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องจนถึงสิ้นแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดม ศึกษาฉบับที่ 9 คือ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2549
ด้วยข้อจำกัดในการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นส่วนราชการดังกล่าว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ต่อสภา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อพิจารณา ซึ่งสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในคราวการประชุมครั้งที่ 12/2544 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ได้พิจารณาแล้วมีมติให้จัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นหน่วยงานภายใน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีการบริหารงานเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ ซึ่งตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารงานคณะ ศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544 ได้ กำหนดให้คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นหน่วยงานเพื่อการศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมวิชาการด้านศิลปกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ตลอดทั้งการวิจัยและการให้บริการแก่สังคมและเพื่อประโยชน์ในการรับรองฐานะ ของคณะให้ถือว่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีสถานะเทียบเท่าคณะตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2531 ดังนั้นคณะศิลปกรรมศาสตร์ จึงถือว่าวันที่ 26 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสถาปนาของคณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา
Follow us
Contact us
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
99 ม.18 ต.คลอง
หนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121
โทรศัพท์ 026966305
โทรสาร Fax (อัตโนมัติ ) 029868601
ลิขสิทธิ์ © 2559 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์