• คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    Faculty of Fine and Applied Arts Thammasat University
  • สาขาวิชาการละคอน
    Theatre
  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
    Textile and Fashion Design
  • สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
    Industrial Crafts Design

โครงการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชุมชนฯ เฉพาะกาล (การศึกษา ทดลอง และสร้างแบบจำลอง สำหรับชุมชนหนองโพ)

        คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นคณะที่มีการเรียนการสอนด้านพื้นฐานการสร้างสรรค์งานศิลปะและงานออกแบบ ตลอดจนพื้นฐานการนำเสนอผลงานนั้นๆ ในรูปแบบนิทรรศการ จึงเห็นว่าความรู้ความเชี่ยวชาญนี้จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เพราะนอกเหนือไปจากความงามที่เกิดจากรูปภายนอกของศิลปะแล้ว (Physical functions) บทบาทที่สำคัญของศิลปะยังสร้างให้เกิดผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม และการเมืองได้ (Social, cultural, political functions) และศิลปะเป็นเครื่องมือที่สร้างให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน อย่างไรก็ตาม ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ในรั้วสถาบันการศึกษา อาจยังไม่สามารถแสดงบทบาทเหล่านั้นให้เห็นเป็นรูปธรรมแก่ผู้ที่กำลังศึกษา ค้นคว้าในฐานะนักศึกษาได้  การสร้างให้เกิดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดกระบวนการของการสัมผัสได้อย่างเป็น รูปธรรม และการเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการขับเคลื่อนความร่วมมือทางชุมชนและสังคม โดยใช้รูปแบบของศิลปะเพื่อการมีส่วนร่วม (Participatory art) ในพื้นที่สาธารณะ สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนผู้อยู่ในพื้นที่ ศิลปินและนักศึกษาหรือผู้ที่เข้าไปทำงานในพื้นที่ ศิลปะจึงเป็นสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์และการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

โครงการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชุมชนฯ เฉพาะกาล (การศึกษา ทดลอง และสร้างแบบจำลอง สำหรับชุมชนหนองโพ)

        คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นคณะที่มีการเรียนการสอนด้านพื้นฐานการสร้างสรรค์งานศิลปะและงานออกแบบ ตลอดจนพื้นฐานการนำเสนอผลงานนั้นๆ ในรูปแบบนิทรรศการ จึงเห็นว่าความรู้ความเชี่ยวชาญนี้จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เพราะนอกเหนือไปจากความงามที่เกิดจากรูปภายนอกของศิลปะแล้ว (Physical functions) บทบาทที่สำคัญของศิลปะยังสร้างให้เกิดผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม และการเมืองได้ (Social, cultural, political functions) และศิลปะเป็นเครื่องมือที่สร้างให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน อย่างไรก็ตาม ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ในรั้วสถาบันการศึกษา อาจยังไม่สามารถแสดงบทบาทเหล่านั้นให้เห็นเป็นรูปธรรมแก่ผู้ที่กำลังศึกษา ค้นคว้าในฐานะนักศึกษาได้  การสร้างให้เกิดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดกระบวนการของการสัมผัสได้อย่างเป็น รูปธรรม และการเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการขับเคลื่อนความร่วมมือทางชุมชนและสังคม โดยใช้รูปแบบของศิลปะเพื่อการมีส่วนร่วม (Participatory art) ในพื้นที่สาธารณะ สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนผู้อยู่ในพื้นที่ ศิลปินและนักศึกษาหรือผู้ที่เข้าไปทำงานในพื้นที่ ศิลปะจึงเป็นสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์และการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน


        โครงการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชุมชนฯ เฉพาะกาล (การศึกษา ทดลอง และสร้างแบบจำลอง สำหรับชุมชนหนองโพ) เกิดขึ้นจากแนวคิดของการคำนึงถึงคุณค่าของศิลปะในด้านประโยชน์ใช้สอยที่ สามารถสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน และแนวคิดของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในการใช้ศิลปะและ วัฒนธรรม เป็นสื่อในการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน โครงการฯมีการเชิญศิลปินทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมช่วยกันผลักดัน ให้เกิดการขับเคลื่อนวิถีชุมชนร่วมสมัยในแนวทางสร้างสรรค์ด้วยศิลปะและการ อยู่ร่วมกันของชุมชน

 

 

 

Follow us

Contact us

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  99 ม.18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

  โทรศัพท์   02 - 6966305  

  โทรสาร Fax (อัตโนมัติ )   02 - 9868601