• คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    Faculty of Fine and Applied Arts Thammasat University
  • สาขาวิชาการละคอน
    Theatre
  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
    Textile and Fashion Design
  • สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
    Industrial Crafts Design

  สาขาวิชาการละคอน

1. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการละคอน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 (ฉบับเต็ม) สำหรับรหัสนักศึกษา 61 เป็นต้นไป Download
2. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการละคอน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 (ฉบับย่อ) สำหรับรหัสนักศึกษา 61 เป็นต้นไป  Download
3. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการละคอน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556 สำหรับรหัสนักศึกษา 56 - 60  Download

  สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์

1. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 (ฉบับเต็ม) สำหรับรหัสนักศึกษา 61 เป็นต้นไป  Download
2. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 (ฉบับย่อ) สำหรับรหัสนักศึกษา 61 เป็นต้นไป  Download
3. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556 สำหรับรหัสนักศึกษา 56 - 60  Download

  สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม

1. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 (ฉบับเต็ม) สำหรับรหัสนักศึกษา 61 เป็นต้นไป  Download
2. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 (ฉบับย่อ) สำหรับรหัสนักศึกษา 61 เป็นต้นไป  Download
3. รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556 สำหรับรหัสนักศึกษา 56 - 60  Download

 

ฮิต: 28447

1.เอกลักษณ์

"การสร้างสรรค์เพื่อสังคม" หมายถึง การผลิตผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะและออกแบบ เผยแพร่ต่อสังคม เพื่อช่วยพัฒนาตนเอง สร้างคุณค่า สุนทรียภาพทางจิตใจและการใช้ชีวิตอันเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาสังคมแห่งการ สร้างสรรค์ของชาติ

2. ปรัชญา

การศึกษาด้านศิลปกรรมควรเป็นไปเพื่อจรรโลงความเป็นมนุษย์และสังคม

3. ปณิธาน

     คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชียในการผลิตผลงานวิชาการ และสร้างสรรค์ศิลปกรรมที่มีความเป็นเลิศ ตลอดจนผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะทางศิลปกรรมที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม

4. วิสัยทัศน์

ศิลปกรรมเพื่อสังคมสร้างสรรค์

5. พันธกิจ

1. จัดการศึกษาและผลิตบัณทิตด้านศิลปกรรม  เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล
2. สร้างผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ ในระดับชาติและนานาชาติ
3. บริการวิชาการด้านศิลปกรรมให้กับท้องถิ่นและชุมชน
4. ทำนุบำรุง สืบสานและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เพื่อจรรโลงความเป็นมนุษย์และสังคม

6. สมรรถนะหลัก

      ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลงานด้านศิลปกรรมเพื่อสังคม

7. ค่านิยมองค์กร

FATU (Fairness-Aesthetic-Teamwork-Usefulness)

8 วัฒนธรรมองค์กร

1. เรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายแบบมืออาชีพ
3. ทำงานเป็นทีม
4. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เคารพตนเองและผู้อื่น

 

 

 แผนกลยุทธ์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 1พ.ศ.2555 – 2559 (สภาสถาบันเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 1/2555 วันที่ 7 มิถุนายน 2555)

 1.บทนำ

ดาวน์โหลด

 2.แผนปฏิบัติการตามแผนกลยุทธ์การพัฒนา ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. .2557 - 2561

ดาวน์โหลด

 3.สรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการทาแผนกลยุทธ์คณะศิลปกรรมศาสตร์

ดาวน์โหลด

 

ฮิต: 16609

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์และการทำนุ บำรุงศิลปวัฒนธรรมอันเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา นอกจากภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอน/การผลิตบัณฑิต การวิจัยและการให้บริการวิชาการแก่สังคม ดังนั้น ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) จึงได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมการศึกษา การสร้างองค์ความรู้ และการให้บริการทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมแก่สังคม โดยเสนอขออนุมัติบรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ในแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535- 2539) ของทบวงมหาวิทยาลัย โดยยกฐานะสาขาวิชาการละคอน ในคณะศิลปศาสตร์ ขึ้นเป็นโครงการจัดตั้ง ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบให้บรรจุโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นโครงการใหม่ไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)

        ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ต่อ ทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อให้คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบจัดตั้ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2531 แต่คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย (ในขณะนั้น) ในการประชุมครั้งที่ 11/2538 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2538 พิจารณาแล้วมีมติไม่อนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยให้ดำเนินการเป็นโครงการจัดตั้ง และให้สามารถจัดการเรียนการสอนในสาขาที่มีความพร้อมได้นอกเหนือจากสาขา วิชาการละคอนที่มีอยู่เดิม ดังนั้น ในปีการศึกษา 2539 โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์จึงได้เปิดสอนหลักสูตรใหม่ซึ่งเป็นหลักสูตร ของโครงการจัดตั้ง คือ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการละคร และสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์  

            ต่อมาในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) และต่อเนื่องมาจน ถึงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9
(พ.ศ.2545-2549) โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ยังไม่ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่าคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ได้มีมติให้ดำเนินมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ โดยสาระสำคัญของมาตรการดังกล่าว คือ การกำหนดให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือขยายหน่วยงานภายใน กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรมขึ้นไป ซึ่งมติคณะ รัฐมนตรีดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องจนถึงสิ้นแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดม ศึกษาฉบับที่ 9 คือ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2549

        ด้วยข้อจำกัดในการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นส่วนราชการดังกล่าว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ต่อสภา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อพิจารณา ซึ่งสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในคราวการประชุมครั้งที่ 12/2544 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ได้พิจารณาแล้วมีมติให้จัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นหน่วยงานภายใน ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีการบริหารงานเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ ซึ่งตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารงานคณะ ศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544 ได้ กำหนดให้คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นหน่วยงานเพื่อการศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมวิชาการด้านศิลปกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ตลอดทั้งการวิจัยและการให้บริการแก่สังคมและเพื่อประโยชน์ในการรับรองฐานะ ของคณะให้ถือว่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีสถานะเทียบเท่าคณะตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2531 ดังนั้นคณะศิลปกรรมศาสตร์ จึงถือว่าวันที่ 26 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสถาปนาของคณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา

 

 

ฮิต: 20518

 

 

 

Follow us

Contact us

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  99 ม.18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

  โทรศัพท์   02 - 6966305  

  โทรสาร Fax (อัตโนมัติ )   02 - 9868601