• คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    Faculty of Fine and Applied Arts Thammasat University
  • สาขาวิชาการละคอน
    Theatre
  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
    Textile and Fashion Design
  • สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
    Industrial Crafts Design

  “ศิลปกรรมและการออกแบบในช่วงเวลาแห่งความพลิกผัน”

Art and Design in the Age of Disruption
วันที่ 19 - 20 สิงหาคม 2564 ทางออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักการและเหตุผล/ความสำคัญของโครงการ
          ยุคสังคมพลิกผัน (The Age of Disruption) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเทคโนโลยี และข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสภาวะการณ์หรือวิกฤตการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์และหลีกเลี่ยงได้  ที่เราจำเป็นต้องรับมือและได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที เช่น วิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-2019) ซึ่งส่งผลกระทบวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ และถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่มีผลต่อวิถีการดำรงชีวิต การทำงานของบุคลากรในทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่วงการศิลปกรรม ที่ศิลปิน คณาจารย์ และนักวิชาการในวงการศิลปะ จะต้องเตรียมรับมือและปรับตัวกับทุกสถานการณ์ทั้งการเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และวิกฤตการณ์ COVID 2019 ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างมาก
        คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการผลิตงาน และเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานสร้างสรรค์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่พลิกผันอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายในและภายนอก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้าน การจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมวิชาการด้านศิลปกรรมศาสตร์ รวมถึงการวิจัยและการให้บริการวิชาการแก่สังคม จึงส่งเสริมให้คณาจารย์ได้พัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยการรังสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรม ทุกแขนง เพื่อเผยแพร่ต่อประชาคมและสาธารณชนทั่วไป ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และงานวิจัยสร้างสรรค์ ระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรต่างๆ นักออกแบบ และศิลปิน ที่ผลิตผลงานศิลปะและการออกแบบเผยแพร่สู่สังคมทั้งในระดับชาติหรือระหว่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ
      ทั้งนี้เพื่อร่วมสร้างปรากฎการณ์ใหม่ การสร้างสรรค์งานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสังคม อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และการรับมือกับวิถีใหม่ (New Normal) จึงเห็นควรดำเนินงานโครงการประชุมวิชาการงานสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้หัวข้อ “ศิลปกรรมและการออกแบบในช่วงเวลาแห่งความพลิกผัน Art and Design in the Age of Disruption” ขึ้น เพื่อให้เป็นเวทีจัดแสดงและเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยสร้างสรรค์ อันเป็นผลจากการพัฒนางานวิชาการของคณาจารย์ และศิลปินผู้มีส่วนร่วมการพัฒนาวิชาการให้สอดคล้องกับสังคมที่มีความพลิกผันอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการสร้างเครือข่ายศิลปินของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการนี้ นอกจะเป็นส่วนของงานด้านการศึกษาและการพัฒนาวิชาการแล้ว ยังเป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมรูปแบบหนึ่งด้วย

  วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์มีเวทีในการผลิตงานวิชาการ งานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับสังคมที่มีความพลิกผันตลอดเวลา
2. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านศิลปกรรมศาสตร์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการศิลปกรรมในด้านการผลิตงานสร้างสรรค์กับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านศิลปกรรมที่มีคุณค่าทางความคิด และทางสุนทรียศาสตร์แก่สาธารณชน

ผู้รับผิดชอบ  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รูปแบบการดำเนินงาน   

1. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ศิลปกรรมและการออกแบบในช่วงเวลาแห่งความพลิกผัน (Keynote Lecture)
วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 - 12.00 น.

2. เสวนาวิชาการพิเศษ เรื่อง “การสร้างและการขยายฐานวิชาชีพศิลปะการแสดงในช่วงเวลาแห่งความพลิกผัน”
วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00 - 16.30 น.

3. เสวนาวิชาการพิเศษ เรื่อง “อนาคตงานออกแบบและหัตถกรรม”
วันที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 13.00 - 16.00 น.

4.การนำเสนอผลงานวิชาการ
วันที่ 19-20 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 - 16.00 น.

  หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

1. สาขาศิลปะการแสดง
2. สาขานาฏศิลป์
3. สาขาดนตรี
4. สาขาวัฒนธรรมศึกษา
5. สาขาทัศนศิลป์
6. สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์
7. สาขาออกแบบแฟชั่น
8. สาขาออกแบบสิ่งทอ
9. สาขาออกแบบสื่อสาร

เสวนาวิชาการพิเศษ

1.เรื่อง “การสร้างสรรค์และขยายฐานวิชาชีพด้านศิลปะการแสดงในช่วงเวลาแห่งความพลิกผลัน”
โดย    สมาพันธ์ศิลปะการแสดงระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย

2.เรื่อง “อนาคตงานออกแบบและหัตถกรรม”
โดย      1) ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ
          2) คุณกรกต อารมย์ดี
          3) คุณจารุพัชร อาชวะสมิต
          4) คุณพิบูลย์ อมรจิรพร

กำหนดการและวิธีส่งผลงาน

15 มกราคม - 30 เมษายน 2564

ประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ
เปิดรับบทคัดย่อ (Call for papers)
โดยส่งทาง E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

30 เมษายน 2564

ปิดรับบทคัดย่อ เพื่อนำเสนอการประชุมวิชาการ

1 - 31 พฤษภาคม 2564 

ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาบทคัดย่อ เพื่อเข้าร่วมนำเสนอการประชุมวิชาการ

1 มิถุนายน 2564

ประกาศผลการพิจารณาบทคัดย่อทาง E-mail รายบุคคล

15 มิถุนายน 2564

ส่งบทความฉบับเต็มเพื่อตีพิมพ์
ยืนยันการนำเสนอผลงานวิชาการผ่านทาง
ทาง E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
หรือทาง https://forms.gle/x33CPp6Vbs9DUfpq9

15 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม 2564

รับสมัครผู้เข้าร่วมประชุม โดยไม่นำเสนอผลงาน (ลงทะเบียนทาง Online)
ทาง https://forms.gle/9zUF3PghP9mRNjww7

19 – 20 สิงหาคม 2564

นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ

30 สิงหาคม 2564

ส่งบทความฉบับเต็มเพื่อตีพิมพ์วารสารศิลปกรรมสาร (บทความดีเด่น)

บทความดีเด่นที่ได้รับคัดเลือกในงานประชุมวิชาการนี้ จะได้รับตีพิมพ์ในศิลปกรรมสาร
หลังจากที่ได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer)

 ช่องทางการชำระค่าลงทะเบียนนำเสนอผลงานจำนวน 1,500 บาท (เฉพาะผู้นำเสนอที่ไม่ได้มาจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายเจ้าภาพร่วม)

  ลงทะเบียน

    - ขั้นตอนการลงทะเบียนสำหรับผู้ร่วมนำเสนอผลงาน

        1.ส่งบทคัดย่อ (Abstract) ทาง E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

        2.รอประกาศผลการพิจารณาบทคัดย่อ ทาง E-mail รายบุคคล 

          ดาวน์โหลดข้อกำหนด/หลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการ/วิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ในงานประชุมวิชาการงานสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมระดับชาติ

        3.ยืนยันการนำเสนอผลงาน ได้ทาง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือทาง https://forms.gle/x33CPp6Vbs9DUfpq9

    - ขั้นตอนการลงทะเบียนสำหรับผู้ร่วมประชุม โดยไม่นำเสนอผลงาน      

         ลงทะเบียนทาง https://forms.gle/9zUF3PghP9mRNjww7

   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โทร 02-6966249 , 091-7959153  คุณวรัญญา จงใจรักษ์

 

 

 

 

Follow us

Contact us

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  99 ม.18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121

  โทรศัพท์   02 - 6966305  

  โทรสาร Fax (อัตโนมัติ )   02 - 9868601